ขอให้สำลักความสุข ...ขอให้ทุกข์กระเด็น ...ขอให้เห็นรอยยิ้ม ...ขอให้อิ่มความรัก...ขอให้หนักเงินทอง ...ขอให้มองฟ้าสวย ...ขอให้รวยความฝัน ...ขอให้มั่นความดี ...ขอให้มีแรงใจ ...ขอให้สดใส สบายกายสบายใจ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

“จัมพ์แบต” เรื่องง่ายๆที่ทำ(ไม่)ยาก

เวลาขับรถบนท้องถนน ความปลอดภัยในการเดินทางเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด แต่บ่อยครั้งก็มักเกิดปัญหาไม่คาดคิดโดยเฉพาะปัญหาแบตเตอรี่หมด ที่ทำให้ระบบเครื่องยนต์หยุดชะงัก และเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเฉพาะหน้า ด้วยวิธีการต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า จัมพ์แบตเตอรี่ เพื่อให้เกิดกำลังไฟเพียงพอที่จะทำให้ระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ทำงาน และสามารถเดินรถต่อไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
      นายประกาสิทธิ์ พรประภา กรรมการ บริษัท สยามยีเอส แบตเตอรี่ จำกัด และบริษัท สยามยีเอสเซลส์ จำกัด ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ “GS แบตเตอรี่ให้คำแนะนำว่าปัญหาของแบตเตอรี่หมดระหว่างการขับรถบนท้องถนนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสายต่อไดชาร์จหลวม น้ำกลั่นหมด แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ หรือกำลังไฟของแบตเตอรี่มีไม่เพียงพอ การจัมพ์แบตเตอรี่เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยจะต้องมีสายพ่วงแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์เสริม และต่อสายพ่วงกับรถยนต์อีกคันหนึ่งในการชาร์จไฟ เพื่อให้ระบบได้ทำงาน หลังจากนั้นจึงนำรถยนต์ไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ และเช็คสภาพความพร้อมของเครื่องยนต์จากช่างผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง
      การจัมพ์แบตเตอรี่สามารถทำได้เอง แต่ต้องระมัดระวัง เพราะแบตเตอรี่ มีส่วนประกอบหลัก คือ น้ำกรดที่มีคุณสมบัติเป็นตัวการกัดกร่อนพื้นผิว ซึ่งขณะที่แบตเตอรี่กำลังทำงานจะเกิดก๊าซไฮโดรเจนสะสมในตัวแบตเตอรี่ จึงควรระวังในเรื่องประกายไฟ เพราะอาจเกิดอันตรายระหว่างจัมพ์แบตเตอรี่ได้
    
       
**วิธีการจัมพ์แบตเตอรี่’**
    
       
เมื่อแบตเตอรี่หมดให้ปิดสวิตช์กุญแจและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดของรถและขอความช่วยเหลือจากรถยนต์ที่มีแบตเตอรี่ เพื่อต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีแดงซึ่งเป็นสายขั้วบวกมาต่อกับขั้วบวก (+) ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด หลังจากนั้นนำหัวต่ออีกข้างต่อเข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีเขียวหรือสีดำซึ่งเป็นสายขั้วลบมาต่อกับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน ควรตรวจเช็คให้แน่ใจว่าสายพ่วงต่อแน่นหนา
       ต่อจากนั้นนำสายหัวต่อที่เหลือต่อเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด โดยควรต่อให้ห่างจากแบตเตอรี่มากที่สุด จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่มีไฟ ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วเร่งเครื่องยนต์เล็กน้อยเพื่อให้แบตเตอรี่มีการไหลเวียนของประจุไฟฟ้า หลังจากนั้น เริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่หมด จากนั้นเร่งเครื่องยนต์ประมาณ 1,500 - 2,000 รอบ/นาที เพื่อเช็คดูว่าประจุไฟเข้าหลังจากการชาร์จหรือไม่ ซึ่งถ้าเครื่องยนต์ไม่ดับแสดงว่าการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่สำเร็จ
    
       
จากนั้นถอดสายพ่วงสีเขียว หรือสายขั้วลบ (-) ออกจากตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่หมด และตามด้วยหัวต่อขั้วลบของแบตเตอรี่ที่มีไฟ จากนั้นจึงถอดสายสีแดงหรือสายขั้วบวก (+) จากรถคันที่แบตเตอรี่หมด และถอดหัวสายพ่วงจากแบตเตอรี่ที่มีไฟ ปิดฝาช่องเติมน้ำกลั่นให้ครบทุกช่องและควรสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือขับรถไปเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คเครื่องยนต์และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
       **ปลอดภัยเวลา จัมพ์แบตเตอรี่”**
       
       -
ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ระหว่างต่อสายพ่วงแบตเตอรี่
       -
เวลาต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ อย่าสูบบุหรี่หรือทำสิ่งใดๆ และระวังอย่าให้สายพ่วงแบตเตอรี่สัมผัสกัน เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้
       -
ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ โดยใช้น้ำร้อนราดที่ขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ขั้ว เพื่อขจัดคราบเกลือที่เกาะติดอยู่
       -
ตรวจเช็คกำลังไฟของแบตเตอรี่ก่อน เพราะแบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ หรือ 24 โวตล์ ไม่สามารถนำมาพ่วงกับแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ได้ เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เกิดการระเบิดขึ้นได้
       -
ตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่ก่อนทุกครั้ง โดยดูจากที่วัดของแบตเตอรี่ หรือใช้ที่วัดความถ่วงจำเพาะ(HYDROMETER) บริเวณด้านข้างของแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น สีเขียว = ประจุไฟฟ้าเต็ม สีน้ำตาลหรือสีดำ = ประจุไฟหมด สีเหลือง=แบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน
รูป ขั้นตอนที่ 1 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ, ข่าวแหล่งรถ, ข่าวรถยนต์
ขั้นตอนที่ 1 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ
รูป ขั้นตอนที่ 2 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงอีกด้านเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่รถที่มีไฟ, ข่าวแหล่งรถ, ข่าวรถยนต์
ขั้นตอนที่ 2 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงอีกด้านเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่รถที่มีไฟ
รูป ขั้นตอนที่ 3 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับขั้วลบแบตเตอรี่ที่มีไฟ, ข่าวแหล่งรถ, ข่าวรถยนต์
                                                       
ขั้นตอนที่ 3 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับขั้วลบแบตเตอรี่ที่มีไฟ

รูป ขั้นตอนที่ 4 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ, ข่าวแหล่งรถ, ข่าวรถยนต์
ขั้นตอนที่ 4 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ
รูป ขั้นตอนที่ 5 สตาร์ทเครื่องยนต์เริ่มจากรถที่แบตเตอรี่มีไฟก่อน, ข่าวแหล่งรถ, ข่าวรถยนต์

ขั้นตอนที่ 5 สตาร์ทเครื่องยนต์เริ่มจากรถที่แบตเตอรี่มีไฟก่อน

 ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ : 06/08/52

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ระดับอิเล็กโตรไลต

ห้ามปล่อยให้ระดับน้ำต่ำกว่าระดับ MIN เพราะเมื่อ Strap และ แผ่นธาตุ
สัมผัสกับอากาศจะผุกร่อนและเกิดความร้อนสูง
   ‡ ไม่ควรเติมน้ำเกิน MAX เพราะจะทำให้น้ำกรดกระเด็นหรือรั่วซึมขึ้นมา
ข้างบนได้ง่าย
   ‡ เติมให้ทุกลูกมีระดับน้ำสูงเท่ากัน
   ‡ โดยปกติแบตเตอรี่ชนิด Lead-Calcium alloy จะเติมน้ำกลั่น ประมาณ  
 1 - 2 ครั้งต่อปี
   ‡ โดยปกติในขณะ Float charge แบตเตอรี่จะเกิดก๊าซเล็กน้อย จะเห็น
ฟองก๊าซที่แผ่นธาตุ
   ‡ ถ้าแบตเตอรี่ Overcharge จะเกิดก๊าซมาก ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อย และ 
จะพบการหลุดร่วงของแผนธาตุเป็นตะกอนสีน้ำตาลดําอยู่ที่ก้นแบตเตอรี่
--- > ให้ลดแรงดัน Float charge
   ‡ แบตเตอรี่ที่ Undercharge จะไม่มีฟองก๊าซ ; ระดับน้ำจะไม่ค่อยลดลง;
ถ.พ ต่ำ ; และอาจมีแรงดันต่ำ ;เมื่อเอาไฟฉายส่องที่แผ่นธาตุ อาจเห็น
ประกาย --- ให้ทํา Equalize


วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

BATTERY CLINIC สาขาพระประแดง: ความรู้เรื่องแบตเตอรี่รถยนต์

แบตเตอรี่รถยนต์ทำหน้าที่ ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น

แบตเตอรี่รถยนต์ไม่ใช่แหล่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ ขณะเดียวกันถ้าไดชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง (แบตเตอรี่) จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่อง ยนต์เท่านั้น เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และ ทำงานแล้ว ไดชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว

นั่น หมายความว่าแบตเตอรี่จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ 1. เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน 2. ไดชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่รถยนต์ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์อยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. แบบเปียก นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และ ดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับ แบบไม่ต้องดูแลบ่อย (Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5-2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ ยาวนาน ขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูก ใหม่ได้แล้ว

2. แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และ มีราคาแพง แบตเตอรี่แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5-10 ปี แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์จ
การเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่นั้นถ้าหากว่าไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไร เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ติดตั้งพวกระบบเครื่องเสียงต่างๆ หรือ ติดตั้งพวกอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้น เพราะจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการคำนวณ และ เลือกขนาดของแบตเตอรี่รถยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานของรถรุ่นนั้นๆอยู่แล้ว
แต่ ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นมักจะมีขนาดของตัวแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นด้วย ดังนั้นฐานของแบตเตอรี่เดิมติดรถสามารถรองรับได้หรือไม่
ไม่ควรที่จะ เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์โดยไปลดขนาดของแอมป์ลงโดยเด็ดขาด แต่สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้โดยประมาณ 10-30 แอมป์

การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือการประจุไฟเข้าไปในแต่ละครั้งนั้น ควรจะเลือกใช้การชาร์จอย่างช้าเอาไว้ และทิ้งไว้ซักประมาณ 5-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ทั้งนี้ก็เพื่อให้แบตเตอรี่เสื่อม สภาพได้ช้าลง และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ตามร้านที่เปลี่ยนแบตเตอรี่โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบให้บริการลูกค้าซึ่งจะข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่
เนื่องจากในแบตเตอรี่รถยนต์นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่

ข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่ เนื่องจากในแบตเตอรี่นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
1. ให้ระมัดระวังพวกไฟ หรือประกายไฟต่างๆ รวมทั้งประกายไฟจากการสูบบุหรีด้วย
2. ให้ทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา
3. ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้น้ำกรด และ แบตเตอรี่
4. การจัดวางและจัดเก็บแบตเตอรี่เก่า ควรจัดวางและเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัย และ เป็นจุดที่จัดเก็บแบตเตอรี่โดยเฉพาะ ไม่วางทิ้งเกลื่อนกลาด
5. ไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่เก่าลงในถังขยะปกติธรรมดาทั่วไป
6. ให้ระมัดระวังอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด ในขณะที่ทำการชาร์จแบตเตอรี่นั้นจะมีแก็สเกิดขึ้น ซึ่งแก็สนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดการระเบิดได้อย่างสูง
7. ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนตัวแบตเตอรี่ ปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมประจำอู่เรื่องระบบไฟฟ้า และ ปฏิบัติตามคู่มือประจำรถ
8. ให้ระวังอันตรายจากน้ำกรดเวลาเดือด น้ำกรดในแบตเตอรี่นั้นเป็นสารกัดกร่อนอย่างรุนแรง ดังนั้นควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ ถุงมือขณะที่ทำงานในกรณีนี้อยู่ รวมทั้งระวังอย่าเอียง หรือ ตะแคงแบตเตอรี่เป็นอันขาด เพราะน้ำกรดสามารถรั่วไหลออกมาทางรูระบายได้
เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์กันเมื่อใด (เผื่อเวลาไว้ ก่อนมีปัญหา)
• ใช้งานมานานกว่า 1.5 - 2 ปี
• ไฟหน้าไม่สว่างเหมือนเช่นเคย
• กระจกไฟฟ้าทำงานไม่เหมือนเดิม (ช้าลง)
• ในตอนเช้า เครื่องยนต์สตาร์ท ติดยาก (รอบของเครื่องยนต์ไม่พอเพียง)
• ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยครั้ง (ตรวจ Checked Alternator for Voltage)
เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ที่มีกำลังมากขึ้น (สำหรับทำหน้าที่หลายอย่าง)
• เมื่อมีการเพิ่มปริมาณไฟฟ้าส่องสว่างและติดเครื่องเสียงเพิ่มขึ้น
• ใช้รถเฉพาะกลางคืนและเปิดไฟส่องสว่างเป็นเวลานานๆๆ
• เปิดแอร์เป็นเวลานานๆ
• ใช้รถทั้งกลางวัน-กลางคืน
• ใช้เครื่องมือสื่อสาร
• ใช้รถน้อย (จอดรถไว้เป็นเวลาหลายวัน) หรือใช้รถเฉพาะวันหยุด
อาการของแบตเตอรี่รถยนต์และแนวทางการป้องกัน
• ไฟอ่อนหรือไฟหมด (วัดถพ.น้ำกรดทุกช่องต่ำกว่า1.250 / วัดไฟ ไม่ถึง 12 โวลท์)ห้ามเปลี่ยนถ่ายน้ำกรด เปิดไฟทิ้งไว้นาน อัดไฟ ด้วยกระแส 5-10 แอมป์ จนเกิดฟองก๊าซ อย่างเพียงพอ (วัด ถพ.น้ำกรดได้ 1.250 ทุกช่อง / วัดไฟ เต็ม 12 โวลท์)
• ตรวจดู และ ปิดสวิทช์ไฟ ทุกครั้งหลังดับเครื่อง
• ไม่ได้ใช้แบตเตอรี่นาน ติดเครื่องยนต์อย่างน้อย อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง
• ไฟรั่วลงดิน ตรวจระบบไฟฟ้า และสายไฟ ตรวจระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ ทุกๆ 6 เดือน
• ไดนาโม ไดชาร์ทรถยนต์ชำรุด หรือไม่ทำงาน ซ่อมไดนาโม ไดชาร์ทรถยนต์ พร้อมกับอัดไฟ แบตเตอรี่
• ขั้วต่อแบตเตอรี่ไม่แน่น หรือชำรุด ถอด ทำความสะอาด ด้วยน้ำร้อน ทาวาสลีน หรือเปลี่ยนขั้วใหม่ ดูแลแบตเตอรี่ ให้สะอาดเสมอ
• กำลังไฟแบตเตอรี่ ไม่พอเพียง อัดไฟ ด้วยกระแส 5-10 แอมป์ จนเกิดฟองอากาศ อย่างเพียงพอ ลดอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า ในรถยนต์ลง หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ ที่มีกำลังไฟมากขึ้น ตามกำลังเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้ง
• อัดไฟไม่เต็ม อัดไฟใหม่ ตรวจดูฟองก๊าซในระหว่างอัดไฟ (ถพ. 1.250, วัดไฟ 12 โวลท์) แบตเตอรี่เสื่อม เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่


วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่องแบตเตอรี่รถยนต์

ความรู้เรื่องแบตเตอรี่ สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม
1 การประจุไฟที่น้อยเกินควร Under Charging
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- เกิดคราบขาวที่แผ่นธาตุของแบตเตอรี่ส่งผลให้ประจุไฟได้ยาก
- ทำให้แผ่นธาตุจะเสื่อมสภาพ
2 การประจุไฟที่มากเกินควร Over Charging
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- น้ำกลั่นแปรสภาพเป็นแก๊สมากทำให้ระดับน้ำกลั่นลดลง
- อุณหภูมิสูงขึ้นมากทำให้แผ่นธาตุเสื่อม
- ทำให้ผงตะกั่วเกิดการสึกกร่อนจากแผ่นธาตุ
- แผ่นธาตุงอโค้ง
- ลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
3 การลัดวงจรในช่องแบตเตอรี่ Short Circuit
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- เกิดตะกอนที่อยู่ส่วนล่างของหม้อแบตเตอรี่มากเกินไป
- เกิดจากการแตกหักหรือการเสื่อมสภาพของแผ่นกั้นระหว่างแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ
4 ปัญหาระบบไฟในรถ
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- การติดเครื่องเสียง สัญญาณกันขโมย อุปกรณ์เสริมในรถเพิ่มเติม (ไฟไม่พอ)
- การเปลี่ยนแปลงขนาดของแบตเตอรี่
- การลัดวงจรของสวิทซ์ไฟต่างๆในรถ
- ประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จไม่เต็มที่
5 การมีสารอันตรายปะปนในหม้อแบตเตอรี่ Impurity
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- น้ำกรดไม่ได้คุณภาพ
- น้ำกลั่นที่เติมลงไปไม่บริสุทธิ์
- เติมน้ำกลั่นสี (สารหล่อเย็น) ลงไป
6 การเกิดซัลเฟต (Sulfation)
แผ่นธาตุที่มีผลึกซัลเฟตสีขาวเกาะติดอยู่ที่บริเวณแผ่นธาตุ เกิดจาก…..
- ปล่อยทิ้งแบตเตอรี่ไว้นานๆ โดยไม่นำไปใช้
- การประจุไฟที่น้อยเกินไป (Under Charging)
- แผ่นธาตุโผล่พ้นระดับน้ำกรด
การตรวจเช็คกำลังไฟของแบตเตอรี่รถยนต์
                การวัดค่าต่างๆ ในตัวแบตเตอรี่มีหลายค่าที่ต้องวัดเพื่อทราบถึงประสิทธิภาพของการทำงานของแบตเตอรี่ นอกเหนือจากการวัดค่าแรงดันไฟVolatage no-load แล้วค่าอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกันแต่ถ้าจะมาจำเพาะเจาะจงถึงเรื่องกำลังไฟสำหรับการติดหรือการสตาร์ทเครื่องยนต์ สิ่งที่สามารถบอกถึงประสิทธิภาพในเรื่องนี้คือการวัดค่า CCA (Cool Cranking Ampere)ซึ่งบางท่านเข้าใจว่าวัดโวลต์แล้ว จะทราบ กระแสไฟ นั้นถูกต้องแต่ มัน ไมใช่
ซึ่งถ้าไปเช็คตามร้านทั่วไปที่ไม่มีเครื่องมือพิเศษก็อาจจะบอกว่าแบตเสื่อมหรือไม่ก็จะจับแบตไปทำการ recharge ถ้าหลังจากชาร์จแล้ว ยังเหมือนเดิมก็แสดงว่า แบตเสื่อมสภาพ
แต่ในปัจจุบันมีเครื่องมือพิเศษเป็นอุปกรณ์ทีใช้ในการวัดประสิทธิภาพของแผ่นธาตุในแบตเตอรี่ ว่ายังมีสภาพพร้อมที่จะทำปฎิกิริยากับน้ำกรดเพื่อสร้างกระแสไฟให้เกิดค่ากำลังไฟครับแบบฝรั่งว่าไว้คือ
What is Cold Cranking Ampere (CCA) Rating?
The Cold Cranking Ampere (CCA) rating is the industry rating that measures the cranking power a battery has available to start an engine at 0º F. The Battery Council International defines it as the number of amperes a lead acid battery at 0º F can deliver for 30 seconds and maintain at least 1.2 volts per cell.
สรุปแบบให้คนไทยรู้เรื่องคือ
นิยาม CCA (cold cranking amp) คือ ค่ากระแสไฟสูงสุดที่แบตลูกนั้นๆสามารถจ่ายกระแสออกมาได้ในช่วงที่มีการสตาร์ทรถ ช่วงสั้นๆ 5-10 วินาที
ซึ่งค่า ccaของแบต แต่ละรุ่นนั้นมีค่ามาตรฐานที่แตกต่างกัน แต่ทุกยี่ห้อจะต้องมีค่าไม่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ตามระบบสากล
เช่นแบตรุ่น ปิกอัพ ขนาด 70 แอมป์ หรือท้องตลาดจะเรียกว่า รุ่น 70 z นั้นตามระบบสากลเรียกรุ่นนี้ว่า รุ่น 75D 31 ซึ่งมีค่ามาตรฐาน ccaต้องไม่ต่ำกว่า 440 แอมป์ ซึ่งถ้าใช้อุปกรณ์วัดค่า ccaแล้วพบว่าต่ำกว่ามาตรฐาน อย่างน้อย 20% เครื่องจะเตือนและแจ้งว่าควรที่จะเปลี่ยนแบตใหม่ได้แล้ว 

http://batteryclinic-th.blogspot.com/2011/09/battery-clinic.html