ขอให้สำลักความสุข ...ขอให้ทุกข์กระเด็น ...ขอให้เห็นรอยยิ้ม ...ขอให้อิ่มความรัก...ขอให้หนักเงินทอง ...ขอให้มองฟ้าสวย ...ขอให้รวยความฝัน ...ขอให้มั่นความดี ...ขอให้มีแรงใจ ...ขอให้สดใส สบายกายสบายใจ

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อีกทางเลือกหนึ่ง ของแบตเตอรี่รถยนต์



แบตเตอรี่รถยนต์จัดเป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เรียกว่าอิเล็คโตรไลตริกเซลล์นั่น คือเป็นเซลล์ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าโดยการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอนที่ เกิดจากการแตกตัวของสารละลายอิเล็คโตรไลท์ที่สามารถแตกตัวให้อิเล็คตรอนได้ เมื่ออิเล็คตรอนเหล่านี้เกิดการเคลื่อนที่ก็จะก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ ภายในแบตเตอรี่รถยนต์จะประกอบไปด้วยแผ่นตะกั่ววางเรียงกันด้วยระยะห่างที่ เท่าๆกัน ซึ่งบรรจุสารละลายกรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน) ไว้ด้วย เมื่อจะใช้งานครั้งแรกจะต้องมีการเติมน้ำกลั่นลงไปก่อนเพื่อให้เกิดการแตก ตัวของกรดและได้อิเล็คตรอนอิสระออกมา อิเล็คตรอนเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปในสารละลายและก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมา
แบตเตอรี่เหล่านี้เมื่อใช้ไปนาน ๆ เข้าก็จะเกิดการเสื่อมสภาพ เนื่องจากเกิดการสะสมของเกลือซัลเฟต (SO42-) ที่บริเวณแผ่นตะกั่ว การสะสมดังกล่าวจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดเป็นฉนวนอย่างถาวร และไม่สามารถจะนำไฟฟ้าได้ทำให้แบตเตอรี่ดังกล่าวเสื่อมคุณภาพ
http://chemsafe.chula.ac.th/waste/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=80

การจะกำจัดเจ้าเกลือซัลเฟตนั้นออกไปนั้น วิธีชาวบ้านทำ เริ่มจากคว่ำแบตเตอรี่ ทิ้งน้ำกรด แล้วผสมโซดาไฟกับน้ำร้อน เสร็จแล้วกรอกลงไปในช่องที่เราเติมน้ำกลั่นทัน ที ขั้นตอนนี้ควรระวัง เพราะโซดาไฟนั้นอันตรายทั้งกัดและแสบ โดยโซดาไฟจะเข้าไปกัดแผ่นธาตุทำให้เกลือซัลเฟตหลุดออก มา การแลกเปลี่ยนอิเล็คตรอนระหว่างสารละลายอิเล็คโตรไลท์กับแผ่นตะกั่วจึงทำได้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะความต้านลดลง ข้อเสียก็คือปริมาณแผ่นธาตุมันลดลงไปด้วยจากการกัดกร่อนของโซดาไฟ แล้วจะจ่ายไฟให้ ดีเหมือนเดิม ย่อมเป็นไปไม่ได้ หรือหากโชคร้ายแผ่นธาตุมันทะลุ หัก ไป ก็ใช้การไม่ได้

ปัจจุบันมีบริษัทที่รับชุบชีวิตแบตเตอรี่ หรือฟื้นฟูแบตเตอรี่ เข้ามาให้บริการในบ้านเรากัน โดยใช้วิธีไฮเทคไม่ใช่แบบลูกทุ่งที่ว่าไปข้างต้น โดยใช้กระแสไฟฟ้า (Pulse) ที่มีค่ายอดคลื่นสูงและความถี่สูง ในการกระตุ้นแบตเตอรี่ แล้วป้อนกลับเข้าไปที่ขั้วของแบตเตอรี่เพื่อทำให้ผลึกของเกลือซัลเฟต (ขี้เกลือ) ที่จับเกาะอยู่ที่ผิวของแผ่นตะกั่ว สลายตัวแตกตัวหลุดออกไปเป็นสารละลายดังเดิม ทำให้ผิวของแผ่นตะกั่วสะอาดขึ้น ส่งผลให้การทำปฏิกิริยาทางไฟฟ้าระหว่างแผ่นตะกั่วกับสารละลาย มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แบตเตอรี่สามารถรักษาระดับการเก็บประจุไฟฟ้าได้ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น

ตามลิขสิทธิ์ที่เขาจดไว้ ที่อเมริกา เมื่อปี 1976  ( ลิขสิทธิ์ #3,963,976 ) จึงจะต้องทำวงจรอิเลคทรอนิคส์สร้างกระแสไฟฟ้าแบบความถี่สูง โวลต์สูง ๆ ช่วงสั้น ๆ ไปชาร์จแบตเตอรี่ การจ่ายกระแสไฟที่มีความถี่เหมาะสมกลับ เข้าไป ทำให้ผลึกเกลือซัลเฟต แตกตัวหลุดออกจากแผ่นธาตุ แผ่นธาตุไม่โดนโซดาไฟกัดจนบางเหมือนวิธีข้างต้นและมีอาย ุการใช้งานได้อีก เรียกว่าแทบจะใหม่กิ๊กเลยทีเดียว   ในอนาคตหากแบตเตอรี่ ปรับราคาแพงขึ้นไปเรื่อยๆ  คงเป็นการประหยัดเงินในกระเป๋าได้ดีทีเดียว

การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ในครั้งแรก ควรชาร์จนานเท่าใด


การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ในครั้งแรก ควรชาร์จนานเท่าใด
การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ในครั้งแรก ควรชาร์จประมาณ 8-16 ชั่วโมง 
 กระแสในการประจุไฟฟ้าอยู่ที่  10%  ของความจุแบตเตอรี่แล้ว  แบตเตอรี่ที่หมดประจุอย่างสมบูรณ์สามารถจะประจุได้ภายใน  10  ชั่วโมง  แต่ความเป็นจริงจะใช้เวลามากกว่า  10  ชั่วโมง  การประจุทีละน้อยด้วยอัตราขนาดนี้สามารถประจุทิ้งไว้ค้างคืนได้ 
  ประโยชน์อีกข้อหนึ่งของการประจุไฟฟ้า ด้วยอัตราขนาดนี้คือ   
ถึงแม้ว่าแบตเตอรี่จะถูกประจุเต็มแล้วก็ตาม  ก็ไม่จำเป็นต้องนำแบตเตอรี่ออก 
  เนื่องจากถ้าเราประจุต่อไปก็จะไม่ทำความเสียหายให้แก่แบตเตอรี่

เกร็ดความรู้ ไฟเตือนแบตเตอรี่รถยนต์บนแผงหน้าปัดรถยนต์ 
สามารถบอกอะไรได้บ้าง?
หลักการทำงานของการประจุไฟฟ้ารถยนต์ทุกคัน จะสังเกตจากไฟสัญญาณแสดงบนแผงหน้าปัด แสดงเป็นรูปแบตเตอรี่รถยนต์  ไม่ได้เป็นการเตือนว่าแบตเตอรี่รถยนต์หมดแต่เป็นการแสดงถึงความผิดปกติของไดชาร์จ หากทุกอย่างปกติ เมื่อบิดกุญแจในจังหวะแรก ไฟเตือนต้องติดและเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ทและทำงานแล้ว ไฟเตือนต้องดับลงตลอดการขับ ถ้าเครื่องยนต์ทำงานอยู่แล้วไฟเตือนสว่างขึ้น   แสดงว่าระบบประจุไฟฟ้าบกพร่อง โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ  ไดชาร์จเสีย ( สามารถขับต่อเพื่อหาร้านซ่อม ) หรือสายพรานไดชาร์จขาด ( ถ้ามีปั๊มลมช่วยระบบเบรกอาจทำให้ เบรกรถไม่อยู่ ต้องหยุดรถเพื่อหาสายพานมาใส่ )
ถ้าไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่รถยนต์จะไม่เสื่อมเร็วในเวลาอันควร 
 ถ้าไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจนกินกระแสไฟฟ้ามากเกินไป 
แบตเตอรี่รถยนต์จะไม่มีการหมด นอกจากเครื่องยนต์รอบเดินเบา 
 ไดชาร์จผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าการใช้มาก หรือไม่ใช้รถเป็นเวลานานอาจหมดได้
ซึ่งไม่ค่อยพบปัญหาดังกล่าวในสภาพการใช้งานปกติ เพราะในการใช้รถยนต์ 
เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากสารพัดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์ เครื่องเสียง แอร์  
 ไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ ก็จะมีไดชาร์จคอยส่งไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้ 
เติมกลับเข้าสู่แบตเตอรี่ ตลอดเวลา หากแบตเตอรี่รถยนต์หมดเพราะไดชาร์จผิดปกติ คือผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ แต่แบตเตอรี่รถยนต์ยังไม่เสื่อมสภาพ ก็จะมีการดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่รถยนต์ไปใช้เรื่อยๆ ก็แค่ซ่อมระบบไดชาร์จให้เป็นปกติ แล้วใช้เครื่องประจุไฟให้เต็ม
หรือทำให้เครื่องยนต์ติด แล้วให้ไดชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ 
 ก็สามารถทำงานได้ตามปกติ หลังจากจอดรถไว้ ถ้าแบตเตอรี่รถยนต์หมด
หรือกระแสไฟอ่อนลงมาก จนไดสตาร์ทหมุนเครื่องยนต์ไม่ไหวขณะที่ระบบไดชาร์จและเครื่องยนต์ปกติ แสดงว่าแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพหรือเกิดจากปัญหาอื่นๆ อาทิ
 เปิดไฟแสงสว่างทิ้งไว้หรืออาจเกิดจากระบบไฟรั่ว 
ก็ให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ตรงกับสาเหตุ