ขอให้สำลักความสุข ...ขอให้ทุกข์กระเด็น ...ขอให้เห็นรอยยิ้ม ...ขอให้อิ่มความรัก...ขอให้หนักเงินทอง ...ขอให้มองฟ้าสวย ...ขอให้รวยความฝัน ...ขอให้มั่นความดี ...ขอให้มีแรงใจ ...ขอให้สดใส สบายกายสบายใจ

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเกิดซัลเฟชั่น (Sulfation) หรือการเกิดเกลือซัลเฟตในแบตเตอรี

              การเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ส่วนมาก มีสาเหตุมาจากการเกิดซัลเฟชั่น Sulfation
เมื่อใช้งานแบตเตอรี่ไปได้ระยะหนึ่งปริมาณตะกั่วซัลเฟตจะสะสมที่แผ่นธาตุมากขึ้นซึ่งตะกั่วซัลเฟตนี้มีลักษณะที่เป็นฉนวน จะเกิดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆและเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Sulfation” กล่าวคือตะกั่วซัลเฟตบนแผ่นธาตุจะรวมตัวกันเป็นผลึกที่มีขนาดใหญ่
 
            โดยทั่วไปจะเรียกผลึกของตะกั่วซัลเฟตนี้ว่า
“Hard sulfate”ซึ่ง Hard sulfate นี้อาจจะไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นตะกั่วและกรดซัลฟูริกได้อีกทำให้แบตเตอรี่มีความจุ (แอมแปร์-ชั่วโมง) ลดลง และจ่ายกระแสได้ปริมาณ (แอมแปร์) ลดลง



รูปข้างบนคือตะกั่วซัลเฟตก่อตัวบนแผ่นธาตุระหว่าง การคายประจุไฟฟ้า

รูปข้างบนคือต่อมาตะกั่วซัลเฟตที่ก่อตัวบนแผ่นธาตุจะกลับไปเป็นตะกั่วและตะกั่วออกไซด์เมื่อมีการ ชาร์จแบตเตอรี่ ลักษณะนี้จะเกิดวนเวียนในแบตเตอรีทุกวัน
ในอุดมคติหรือทางทฤษฎี
ตะกั่วซัลเฟตจะมีขนาดเล็กและสามารถละลายได้หมด
ทำให้ไม่มีตะกั่วซัลเฟตหลงเหลือตกค้างอยู่ เมื่อแบตเตอรีได้รับการชาร์ทจนเต็ม
 

รูปข้างบนคือความเป็นจริงผลึกตะกั่วซัลเฟตเหล่านี้เมื่อรถจอดนึ่งผลึกนี้จะพอกตัวเป็นผลึกจนอาจจะมีขนาดใหญ่และรวมตัวเป็น
ชั้นหุ้มแผ่นธาตุนี่เป็นเหตุให้แบตเสื่อมไวขึ้นเมื่อจอดรถไว้นานๆทำให้หน้าสัมผัสระหว่างแผ่นธาตุกับสารละลายอิเล็กโตรไลต์มีพื้นที่ลดลง
 


รูปข้างบนคือด้วยเหตุนี้ความจุของแบตเตอรี่จะลดลงหลังการใช้งานระยะหนึ่งและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ไม่สามารถประจุไฟได้เต็ม 100 % ตลอดเวลาเช่นการใช้รถยนต์ในเมือง, ตอนกลางคืน, ช่วงเวลาฝนตกและการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าเพิ่มเติมต่างๆเช่นเครื่องเสียง, เครื่องเล่น DVD ฯลฯซึ่งเป็นกระบวนการคายประจุไฟฟ้าจะยิ่งทำให้มีการเกิดผลึกตะกั่วซัลเฟตขนาดใหญ่มากขึ้นความจุของแบตเตอรี่จะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อความจุของแบตเตอรี่ลดลงทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องอื่นๆตามมามากมายและเมื่อไม่สามารถเก็บพลังงานและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ทำให้ ระบบประจุไฟฟ้า ต้องทำงานหนักขึ้น(หมายถึง ไดชาร์จ)ซึ่งสำหรับรถยนต์ก็คือการเปลี่ยนน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้าอาจเป็นต้นเหตุหนึ่งของการ สิ้นเปลืองน้ำมัน โดยเปล่าประโยชน์

ท้ายสุดนี้ผมจึงค้นหาวิธีที่จะทำให้มั่นใจว่าแบตเตอรีมีการชาร์จไฟเต็มและขณะชาร์จจะต้องทำการสลายผลึกเกลือตัวนี้ให้ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "DESULFATION"

http://www.aveo-club.com/forum/index.php?topic=17071.0