ขอให้สำลักความสุข ...ขอให้ทุกข์กระเด็น ...ขอให้เห็นรอยยิ้ม ...ขอให้อิ่มความรัก...ขอให้หนักเงินทอง ...ขอให้มองฟ้าสวย ...ขอให้รวยความฝัน ...ขอให้มั่นความดี ...ขอให้มีแรงใจ ...ขอให้สดใส สบายกายสบายใจ

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การทำงานของไดสตาร์ท ( Motor Start )



หน้าที่ของระบบสตาร์ทคือ ทำให้เครื่องยนต์เริ่มหมุนได้ จากนั้นเครื่องยนต์ก็จะหมุนต่อไปเรื่อยๆ ส่วนระบบสตาร์ท ก็จะหยุดการทำงานลงทันทีที่เครื่องยนต์เริ่มทำงาน อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สตาร์ทคือ มอเตอร์สตาร์ท (Starter Motor) หรือที่เรียกกันว่า "ไดสตาร์ท" อุปกรณ์นี้จะทำงานด้วยไฟฟ้า ที่ต่อมาจาก แบตเตอรี่ (battery) ผ่านสวิตช์จุดระเบิด ซึ่งก็คือ ลูกกุญแจรถ ที่เราสตาร์ทเครื่องนั่นเอง เมื่อเราบิดลูกกุญแจไปจังตำแหน่ง "ON" ไฟจากแบตเตอรี่ จะเข้าสู่วงจรการจุดระเบิด คือตัวคอยล์จุดระเบิด เพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงาน แต่เมื่อใดที่เราบิดลูกกุญแจ ไปยังตำแหน่งสตาร์ท มอเตอร์สตาร์ทก็จะทำงานทันที
รูปที่ 1 ตำแหน่งที่ติดตั้ง มอเตอร์สตาร์ท
รูปที่2 แสดงการหมุนของเฟืองสตาร์ท
กับล้อช่วยแรง
มอเตอร์ สตาร์ท ติดตั้งเกาะอยู่ติดกับเครื่องยนต์ แกนข้างหนึ่งของมอเตอร์สตาร์ท จะมีฟันเฟืองติดอยู่ ฟันเฟืองตัวนี้ จะยื่นเข้าไปอยู่ใกล้ๆ กับฟันเฟืองของ ล้อช่วยแรง (Fly wheel) เมื่อเราบิดลูกกุญแจไปยังตำแหน่งสตาร์ท กลไกภายในชุดมอเตอร์สตาร์ท จะดันแกนมอเตอร์สตาร์ท ที่มีฟันเฟือง เข้าไปขบกับกลไกของล้อช่วยแรง (Fly wheel) ขณะเดียวกันนี้ มอเตอร์สตาร์ท ก็จะหมุนด้วยความเร็ว ทำให้ล้อช่วยแรง หมุนตามไปด้วย เมื่อล้อช่วยแรงหมุนแล้ว เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) ก็หมุนตาม ก้านลูกสูบ และลูกสูบ ก็จะเคลื่อนที่ รวมทั้งวาล์วไอดี ไอเสีย ก็จะเริ่มเปิด-ปิด ขณะเดียวกัน คอยจุดระเบิดที่เตรียมพร้อมจะทำงานอยู่แล้ว ก็เริ่มจ่ายไฟไปให้หัวเทียน ทำการจุดระเบิดเป็นจังหวะ เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ทำงานร่วมกันเป็นจังหวะ เครื่องก็เริ่มเดินได้ และทันทีที่ เราปล่อยมือจากการบิดลูกกุญแจที่ตำแหน่งสตาร์ท มอเตอร์สตาร์ท ก็จะหยุดการทำงาน พร้อมทั้ง กลไกที่ดันแกนฟันเฟืองมอเตอร์สตาร์ท ไปขบหมุนกับล้อช่วยแรง ก็จะกลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงการทำงานของมอเตอร์์สตาร์ท

รูปที่ 4 มอเตอร์สตาร์ท หรือไดสตาร์ท รูปแบบต่างๆ 

รูปที่ 5  วิดีโอแสดงการทำงานของ มอเตอร์สตาร์ท หรือไดสตาร์ท  
ข้อมูลจาก: thaioverdrive.blogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเช็คไฟรั่วโดยใช้แคลม์มิเตอร์


แคลม์มิเตอร์ (Clamp meter) หรือ คลิปแอมป์ (Clip amp)
แคล้มป์มิเตอร์ (Clamp Meter) เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยนปริมาณทางไฟฟ้า ให้อยู่ในรูปที่เราสัมผัสได้ เช่น ตัวเลขแสดงผล หรือให้อยู่ในรูปของเข็มชี้ค่าแสดงผล โดยจะสามารถตรวจวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำโดยไม่ต้องดับไฟ หรือหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะที่ทำการวัด (รูปที่1) จึงกล่าวได้ว่าแคล้มป์มิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดอีกชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็น มากในงานด้านไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น หรืองานซ่อมบำรุง ระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ เป็นต้น
 
แคล้มป์มิเตอร์โดยทั่วไปแล้ว จะถูกนำมาใช้งานในการวัดกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าต่างๆ โดยการนำแคล้มป์มิเตอร์ไฟคล้องกับสายจากแอมมิเตอร์แบบต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเมื่อนำไปวัดไฟจำเป็นต้องถอดสายออกก่อนแล้วจึงต่อแอมมิเตอร์อนุกรมกับลวด   ซึ่งเกิดความลำบากไม่สะดวกในการปฏิบัติแต่แบบแคลมป์แค่แกนเหล็กคล้องกับสายเพียงเท่านั้นเราก็สามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้  ( รูปที่ 2 ) เครื่องวัดแบบนี้จะประกอบไปด้วยหม้อแปลงไฟฟ้าตัวหนึ่งโดยขดลวดปฐมภูมิก็คือสายนำกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงลวด   ส่วนขดลวดทุติยภูมิจะพันอยู่แกนข้างหนึ่งสามารถที่จะแยกตัวได้โดยการทริกเกอร์
การทำงาน   เมื่อเอาแกนเหล็กคล้องกระแสที่ไหลผ่าน  สนามแม่เหล็กจากสายไฟฟ้า ( ขดลวดปฐมภูมิ )จะเคลื่อนตัวไปกับขดลวดทุติยภูมิ  ทำ ให้เกิดแรงดันเหนี่ยวนำและกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นที่ขดลวดทุติยภูมิกระแสจะ ไหลผ่านมูฟวิ่งคอยล์ทำให้วัดกระแสไฟได้ในกรณีที่วัดแล้วกระแสไฟไม่ขึ้นนั้น ก็เป็นเพราะว่ากระแสที่วัดนั้นมีค่าน้อยมาก
ไฟที่ต้องการวัด ก็จะทำให้สามารถทราบค่ากระแสไฟฟ้าได้จากจอแสดงผลบน แคล้มป์มิเตอร์
 
การเช็คไฟรั่วโดยใช้แคลม์มิเตอร์
1. ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกตัวในรถยนต์และถอดกุญแจ ล็อครถให้เรียบร้อย
2. คล้อง แคลม์มิเตอร์ ที่สายกราวด์ ( สายจากขั้วลบแบตเตอรี่ ลงสู่ตัวถังรถยนต์ )
3. รอเวลาสัก 1-2 นาที สำหรับรถญี่ปุ่น และ 5-10 นาทีสำหรับรถยุโรป
4. หากอ่านค่าได้ ติดลบมากกว่า    -0.20 Amps แสดงว่ารั่วมาก   ระหว่าง-0.20 ถึง -0.10 Amps  แสดงว่ารั่วปานกลาง    ไม่รั่วหรือปกติ คือ -0.09ถึง-0.03 Amps แต่หากเข็มไฟแตะระดับเกินกว่านี้   อาจบ่งชี้ว่ามีไฟรั่ว หรือมีอุปกรณ์กินไฟเงียบๆขณะเรารถดับเครื่องยนต์ไปแล้ว

Car battery going flat how to check for a drain

How to use a clamp meter?

การเช็ควงจรไฟฟ้ารั่ว กรณีไฟรั่ว

การเช็ควงจรไฟฟ้ารั่ว กรณีปรกติ

 

วีดิโอการเช็ควงจรไฟฟ้ารั่วเครดิต : www.batterytraining.thaipuma.com