ขอให้สำลักความสุข ...ขอให้ทุกข์กระเด็น ...ขอให้เห็นรอยยิ้ม ...ขอให้อิ่มความรัก...ขอให้หนักเงินทอง ...ขอให้มองฟ้าสวย ...ขอให้รวยความฝัน ...ขอให้มั่นความดี ...ขอให้มีแรงใจ ...ขอให้สดใส สบายกายสบายใจ

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

CCA คืออะไร ???

                     การวัดค่าต่างๆ ในตัวแบตเตอรี่มีหลายค่าที่ต้องวัดเพื่อทราบถึงประสิทธิภาพของการทำงานของแบตเตอรี่ นอกเหนือจากการวัดค่าแรงดันไฟVolatage no-load แล้วค่าอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกันแต่ถ้าจะมาจำเพาะเจาะจงถึงเรื่องกำลังไฟสำหรับการติดหรือการสตาร์ทเครื่องยนต์ สิ่งที่สามารถบอกถึงประสิทธิภาพในเรื่องนี้คือการวัดค่า CCA (Cool Cranking Ampere) ซึ่งบางท่านเข้าใจว่าวัดโวลต์แล้ว จะทราบ กระแสไฟ นั้นถูกต้องแต่ มัน .....ไม้ช่าย......ตัวเดียวกันครับ
             
ซึ่งถ้าไปเช็คตามร้านทั่วไปที่ไม่มีเครื่องมือพิเศษก็อาจจะบอกว่าแบตเสื่อมหรือไม่ก็จะจับแบตไปทำการ recharge ถ้าหลังจากชาร์จแล้ว ยังเหมือนเดิมก็แสดงว่า แบตเสื่อมสภาพ
แต่ในปัจจุบันมีเครื่องมือพิเศษเป็นอุปกรณ์ทีใช้ในการวัดประสิทธิภาพของแผ่นธาตุในแบตเตอรี่ ว่ายังมีสภาพพร้อมที่จะทำปฎิกิริยากับน้ำกรดเพื่อสร้างกระแสไฟให้เกิดค่ากำลังไฟครับแบบฝรั่งว่าไว้คือ

What is Cold Cranking Ampere (CCA) Rating?
                  The Cold Cranking Ampere (CCA) rating is the industry rating that measures the cranking power a battery has available to start an engine at 0º F. The Battery Council International defines it as the number of amperes a lead acid battery at 0º F can deliver for 30 seconds and maintain at least 1.2 volts per cell.
สรุปแบบให้คนไทยรู้เรื่องคือ

นิยาม CCA (cold cranking amp) คือ ค่ากระแสไฟสูงสุดที่แบตลูกนั้นๆสามารถจ่ายกระแสออกมาได้ในช่วงที่มีการสตาร์ทรถ ช่วงสั้นๆ 5-10 วินาที
ซึ่งค่า ccaของแบต แต่ละรุ่นนั้นมีค่ามาตรฐานที่แตกต่างกัน แต่ทุกยี่ห้อจะต้องมีค่าไม่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ตามระบบสากล
เช่นแบตรุ่น ปิกอัพ ขนาด 70 แอมป์ หรือท้องตลาดจะเรียกว่า รุ่น 70 z นั้นตามระบบสากลเรียกรุ่นนี้ว่า รุ่น 75D 31 ซึ่งมีค่ามาตรฐาน ccaต้องไม่ต่ำกว่า 440 แอมป์ ซึ่งถ้าใช้อุปกรณ์วัดค่า ccaแล้วพบว่าต่ำกว่ามาตรฐาน อย่างน้อย 20% เครื่องจะเตือนและแจ้งว่าควรที่จะเปลี่ยนแบตใหม่ได้แล้ว
เพราะมิฉะนั้นท่านอาจจะพบเหตุ แบตหมดได้ในวันใดวันหนึ่ง ดังนั้นจะเห็นว่าค่าโวลท์ หรือ ค่า ถ.พ.น้ำกรดนั้นมิได้เป็นตัวบอกว่าแบตลูกนั้นจะใช้งานได้ดีหรือไม่เสมอไป

เพราะมีหลายท่านอาจจะพบว่า นำแบตไปชาร์จจนโวลท์เต็ม ขนาด 12.6-12.8 โวลท์แล้วแต่ทำไมยังไม่สามารถสตาร์ทรถติดได้ นั้นก็ เพราะแผ่นธาตุนั้นเสื่อมแล้วไม่สามารถสร้างกระแสไฟได้
หรือบางทีเราลืมเปิดไฟหรื่ค้างคืนไว้พอเช้ามาสตาร์ทรถไม่ติด ถ้าไปเข็คตามร้านทั้วไป อาจจะบอกว่าแบตหมดเสื่อมแล้ว เพราะเขาวัด แต่เฉพาะโวลท์ของแบต ไม่สามารถวัดค่า ccaได้
ซึ่งถ้าใช้เครื่องวัดเครื่องจะแจ้งว่า good recharge หมายถึงสภาพแผ่นธาตุยังคงใช้งานได้แต่ค่าโวลท์นั้นต่ำลง (เพราะเราลิมเปิดไฟค้างคืนไว้) ถ้าเรานำไป recharge ใหม่ก็จะใช้งานได้ดังเดิม
การวัดค่าต่างๆ ในตัวแบตเตอรี่มีหลายค่า ที่ต้องวัดเพื่อทราบถึงประสิทธิภาพของการทำงานของแบตเตอรี่ นอกเหนือจากการวัดค่าแรงดันไฟ Volatage no-load แล้วค่าอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน
แต่ถ้าจะมาจำเพาะเจาะจงถึงเรื่องกำลังไฟสำหรับการติดหรือการสตาร์ทเครื่องยนต์ (รวมทั้งการชดเชยกำลังไฟที่ระบบต้องการในช่วงสั้นๆ)สิ่งที่สามารถบอกถึงประสิทธิภาพในเรื่องนี้คือ การวัดค่า CCA (Cool Cranking Ampere)
เมื่อค่าที่วัดได้เปรียบเทียบกับค่าที่ระบุจากแบตเตอรี่ และจากผู้ผลิตรถยนต์ ไม่ตรงกันอาจก่อปัญหาได้ เช่นถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่าที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดให้ใช้อาจทำให้แบตเตอรี่ไม่มีกำลังพอที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ซึ่งเหตุการณ์เกิดได้บ่อยกับรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่เป็นเวลานาน(หรือบางค่ายรถนิยมเอาแบต Recycle มาใส่ให้ในรถใหม่ป้ายแดง) และไม่มีการตรวจเช็คอย่างถูกต้องพอใช้ไปไม่นานก็ทำให้ต้องขอพ่วงไฟเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์จารถคันอื่นๆ

ตรวจเช็ครถยนต์ครั้งต่อไป อย่าลืมให้ช่างเช็คค่า CCA ของแบตเตอรี่เพื่อความสะดวก ปลอดภัยในการใช้รถยนต์(เราควรบันทึกค่า CCA ของแบตลูกนั้นเป็นประวัติด้วย มันจะลดค่าลงเรื่อยๆ ครับ)
ท้ายนี้ ผมก็แสดงรูปให้ดูซะหน่อยว่าเจ้า เครื่องที่เรียกว่า Battery Analyserที่ผมใช้อยู่นั้นมันแสดงค่าอะไรบ้าง
รูปบนเป็นการ Set ค่า CCA ที่ตาม specification ของแบตลูกนั้นๆ

รูปบนเป็นค่าที่เครื่องอ่านได้ Bar ด้านบนบ่งสภาพแบตและ%ของไฟที่ประจุอยู่ในแบต ถัดลงมา ตรงกลางเป็น CCA ตาม specification  และล่างสุดเป็น CCA ที่อ่านได้


รูปบน ก็บอกเพิ่มครับว่า มีโวลต์เท่าไหร่ และ มีความต้านทานเท่าไหร่

ที่มา : http://www.aveo-club.com/forum/index.php?topic=17071.0

ไม่มีความคิดเห็น: